คำถามที่พบบ่อย

นายภาดล ถาวรกฤชรัตน์

นายธีระชุณ บุญสิทธิ์

พันธกิจ 1. จัดทำนโยบาย และแผน ส่งเสริมความร่วมมือ การบริหารจัดการทรัพยากรน้ำแบบบูรณาการอย่างเป็นระบบ ระดับประเทศและระหว่างประเทศ 2. ส่งเสริม สนับสนุน และเพิ่มศักยภาพกระบวนการขับเคลื่อนองค์กร และเครือข่ายลุ่มน้ำ 3. อนุรักษ์ ฟื้นฟู พัฒนา เพิ่มประสิทธิภาพ และรักษาสมดุลระบบนิเวศของ แหล่งน้ำและพื้นที่ชุ่มน้ำ 4. พัฒนาองค์ความรู้ ระบบข้อมูล กำหนดมาตรฐานด้านบริหารจัดการทรัพยากรน้ำและระบบเตือนภัยแบบบูรณาการ เพื่อให้เกิดการนำไปใช้ของทุกภาคส่วน ตลอดจนสนับสนุนการพัฒนาระบบน้ำอุปโภคบริโภค

กรมทรัพยากรน้ำเป็นหน่วยงานภาครัฐสังกัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มีภารกิจการเสนอแนะในการจัดทำนโยบายและแผนและมาตรการที่เกี่ยวข้องกับทรัพยากรน้ำ บริหารจัดการพัฒนาอนุรักษ์ฟื้นฟูรวมทั้งควบคุมดูแลกำกับประสานติดตามประเมินผลและแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับทรัพยากรน้ำพัฒนาวิชาการกำหนดมาตรฐานและถ่ายทอดเทคโนโลยีด้านทรัพยากรน้ำทั้งระดับภาพรวมและระดับลุ่มน้ำเพื่อการจัดการทรัพยากรน้ำที่เป็นเอกภาพและยั่งยืนโดยมีหน้าที่และความรับผิดชอบดังนี้ (1) เป็นหน่วยงานหลักในการเสนอแนะนโยบาย แผนแม่บท และมาตรการในการบริหารจัดการ พัฒนา อนุรักษ์ ฟื้นฟู การใช้ประโยชน์และการแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับทรัพยากรน้ำ รวมทั้งกำกับและประสานให้เกิดการนำไปสู่การปฏิบัติ (2) กำหนดแนวทางในการจัดทำแผนปฏิบัติการในการบริหารจัดการ พัฒนา อนุรักษ์ ฟื้นฟูทรัพยากรน้ำ โดยการมีส่วนร่วมของประชาชน (3) ศึกษา วิจัย พัฒนา อนุรักษ์ และฟื้นฟูทรัพยากรน้ำ (4) ติดตามประเมินผลการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำตามนโยบาย แผนแม่บท แผนปฏิบัติการและมาตรการที่ได้กำหนดไว้ทั้งในระดับประเทศและระดับลุ่มน้ำ (5) พัฒนาระบบฐานข้อมูล และเครือข่ายข้อมูลสารสนเทศเกี่ยวกับทรัพยากรน้ำ (6) กำหนดหรือเสนอแนะให้มีการปรับปรุงหรือแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมาย กฎ ระเบียบ ในการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำของประเทศ (7) ส่งเสริม เผยแพร่ ประชาสัมพันธ์ และถ่ายทอดเทคโนโลยีเกี่ยวกับทรัพยากรน้ำ รวมทั้งรณรงค์ทำความเข้าใจกับองค์กรและผู้มีส่วนได้เสีย เพื่อปลูกจิตสำนึกให้ตระหนักถึงคุณค่าความสำคัญของทรัพยากรน้ำ (8) ประสานความร่วมมือกับต่างประเทศและองค์การระหว่างประเทศเกี่ยวกับทรัพยากรน้ำ (9) ส่งเสริม สนับสนุน และให้คำปรึกษาด้านเทคนิควิชาการ มาตรฐานและกฎเกณฑ์เกี่ยวกับการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำแก่หน่วยงานของรัฐ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (10) ปฏิบัติการอื่นใดตามที่กฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของกรม หรือตามที่กระทรวงหรือคณะรัฐมนตรีมอบหมาย ประกอบกับหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติได้มีคำสั่งที่ 46/2560 สั่ง ณ วันที่ 25 ตุลาคม 2560 และคำสั่ง ที่ 2/2561 สั่ง ณ วันที่ 22 มกราคม 2561 จัดตั้งสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติขึ้น เพื่อเป็นหน่วยงานหลักด้านนโยบายในการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำของประเทศ โดยตัดโอนภารกิจและอัตรากำลังของกรมทรัพยากรน้ำในด้านงานเสนอแนะนโยบายและแผนทรัพยากรน้ำในภาพรวมของประเทศงานจัดทำแผนปฏิบัติการจัดการทรัพยากรน้ำของประเทศ การบริหารจัดการทรัพยากรน้ำในระดับข้ามลุ่มน้ำ การประสานความร่วมมือกับต่างประเทศและองค์กรระหว่างประเทศด้านการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำด้านการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ รวมทั้งการติดตามประเมินผล และการปฏิบัติหน้าที่ในฐานะเลขานุการคณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติให้สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ รวมถึงพระราชบัญญัติทรัพยากรน้ำ พ.ศ. 2561 กำหนดให้กรมทรัพยากรน้ำมีหน้าที่ภายใต้หมวด 1 ทรัพยากรน้ำ หมวด 4 การจัดสรรน้ำและการใช้น้ำ หมวด 5 ภาวะน้ำแล้งและภาวะน้ำท่วม หมวด 6 การอนุรักษ์และการพัฒนาทรัพยากรน้ำสาธารณะและหมวด 8 ความรับผิดทางแพ่งในกรณีที่ทำให้เกิดความเสียหายต่อทรัพยากรน้ำสาธารณะ

180/3 ซอย 34 ถนนพระรามที่ 6 พญาไท พญาไท กรุงเทพมหานคร

ประกาศราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 135 ตอนที่ 122 ก หน้า 44-83 ลงวันที่ 28 ธันวาคม 2561 (ดูรายละเอียดเพิ่มเติมที่ http://www.dwr.go.th เมนูหลัก ข้อมูลน่ารู้ และเมนูย่อย กฎหมาย)

ตาม พรบ.ทรัพยากรน้ำ พ.ศ.2561 (ม.4)-1 ให้ความหมายคำว่า "น้ำ" หมายถึง น้ำในบรรยากาศ น้ำบนผิวดิน น้ำใต้ดิน และน้ำทะเล

"ทรัพยากรน้ำ" หมายความว่า น้ำ ทรัพยากรน้ำสาธารณะ แหล่งต้นน้ำลำธาร แหล่งกักเก็บน้ำ คลองส่งน้ำ พื้นที่ทางน้ำหลาก ไม่ว่าจะเกิดขึ้นตามธรรมชาติ หรือมนุษย์สร้างขึ้น และสิ่งอื่นที่ใช้เพื่อการบริหารจัดการน้ำ และให้ หมายความรวมถึงน้ำจากแหล่งน้ำระหว่างประเทศและแหล่งน้ำต่างประเเทศที่ประเทศไทยอาจนำมาใช้ประโยชน์ได้

3 ประเภท รายละเอียด พ.ร.บ. ทรัพยากรน้ำ พ.ศ.2561 มาตรา 41

การใช้ทรัพยากรน้ำประเภทที่ 1 ได้แก่ การใช้ทรัพยากรน้ำสาธารณะเพื่อการดำรงชีพ การอุปโภคบริโภคในครัวเรือน การเกษตรหรือการเลี้ยงสัตว์เพื่อยังชีพ การอุตสาหกรรมในครัวเรือน การรักษาระบบนิเวศ จารีตประเพณี การบรรเทาสาธารณภัย การคมนาคม และการใช้น้ำในปริมาณเล็กน้อย

นายกรัฐมนตรี โดยความเห็นชอบของ กนช. ให้ดำเนินการเท่าที่จำเป็นในการบรรเทาภาวะน้ำแล้ง

ฝ่ายวิเคราะห์และประมวลผลสถิติ สำนักวิจัย พัฒนาและอุทกวิทยา กรมทรัพยากรน้ำ

มี ตามระเบียบกรมทรัพยากรน้ำ ว่าด้วยการขอรับข้อมูลอุทก-อุตุนิยมวิทยา พ.ศ.2560 (ข้อ 7)

ติดต่อสอบถาม 022716000 ต่อ6805 สำนักงานเลขานุการกรม ส่วนบริหารทรัพยากรบุคคล

ฝ่ายวิเคราะห์และประมวลผลสถิติ สำนักวิจัย พัฒนาและอุทกวิทยา กรมทรัพยากรน้ำ

มี ตามระเบียบกรมทรัพยากรน้ำ ว่าด้วยการขอรับข้อมูลอุทก-อุตุนิยมวิทยา พ.ศ.2560 (ข้อ 7)

ขั้นตอนการขอรับการสนับสนุนโครงการพัฒนาแหล่งน้ำ ประกอบด้วย 1. กรอกรายละเอียดผ่านหน้าเว็บไซต์ของกรมทรัพยากรน้ำ โดยกรอก ชื่อสกุล เลขที่บัตรประชาชน เบอร์โทรศัพท์ที่ติดต่อได้ อีเมลล์ เลือกจังหวัดที่ต้องการขอโครงการ และกรอกรายละเอียดเกี่ยวกับคำขอสั้นๆ 2. เมื่อเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบได้รับทราบจะติดต่อท่านเพื่อขอรายละเอียดเพิ่มเติม 3. ท่านสามารถติดตามความก้าวหน้าได้จากหน้าเว็บไซต์ของกรมทรัพยากรน้ำ โดยกรอกลขบัตรประชาชน

ผู้ประกอบการที่ประสงค์จะยื่นขอดำเนินการเกี่ยวกับสัมปทานประกอบกิจการประปา ทั้ง 8 กิจกรรม สามารถดำเนินการได้โดยยื่นหนังสือแสดงความประสงค์ตามกรณีต่าง ๆ กิจกรรมใดกิจกรรมหนึ่ง พร้อมแนบเอกสารหลักฐาน ประกอบ โดย 1) ผู้ประกอบการใน เขตกรุงเทพมหานคร ยื่นที่กรมทรัพยากรน้ำตั้งอยู่ที่ 180/3 ถนนพระรามที่ 6 ซอย 34 แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพฯ 10400 2) ผู้ประกอบการในเขตต่างจังหวัด ยื่นที่สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดนั้น ๆ

1) ระบบประปาขนาดเล็ก ให้ยื่นเอกสารและหลักฐาน ดังต่อไปนี้ 1. แบบคำาขอเพื่อด้าเนินการเกี่ยวกับสัมปทานประกอบกิจการประปา (แบบ สป.1) ให้ยื่นต้นฉบับจำนวน 1 ชุด และสำเนาจำนวน 2 ชุด 2. ในกรณีเป็นบริษัทจำกัดหรือห้างหุ้นส่วนจ้ากัด ให้จัดส่งสำเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล ของสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทซึ่งออกให้ไม่เกิน 6 เดือน นับถึงวันที่ยื่นเรื่องขอดำเนินการ และจะต้องมีวัตถุประสงค์ในการประกอบกิจการประปา จำนวน 3 ชุด 3. ในกรณีมอบอำนาจให้ผู้อื่นทำการแทน ให้จัดทำหนังสือมอบอำนาจพร้อมติดอากรแสตมป์ตามประมวลรัษฎากร ต้นฉบับจ้านวน 1 ชุด และสำเนา จำนวน 2 ชุดสำเนาทะเบียนบ้านและสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้มอบอำนาจ และผู้รับมอบอำนาจ จ้านวน 3 ชุด 4. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน และสำเนาทะเบียนบ้านของผู้ขอดำเนินการ จำนวน 3 ชุด 5. ข้อมูลเบื้องต้นประกอบการขอดำเนินการเกี่ยวกับสัมปทานประกอบกิจการประปา (แบบ สป.2) ให้ยื่นต้นฉบับจำนวน 1 ชุด และสำเนาจำนวน 2 ชุด 6. แผนผังประกอบกิจการประปาและแนวเขตสัมปทาน จำนวน 7 ชุด 7. แผนที่สังเขป จำนวน 7 ชุด 8. ผังบริเวณการประปา จำนวน 3 ชุด 9. ผังแนวท่อจ่ายน้ำประปา จำนวน 7 ชุด 10. แบบแปลนและรายการประกอบแบบแปลนอาคารผลิตน้ำประปา จำนวน 3 ชุด 11. รายละเอียดกระบวนการ ขั้นตอน วิธีการผลิต และวิธีการกำจัดสิ่งปนเปื้อนในน้ำดิบให้ได้มาตรฐานน้ำประปาตามเกณฑ์ที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมกำหนด จำนวน 3 ชุด 12. รายละเอียดการคำนวณออกแบบระบบประปา ประกอบด้วยรายการคำนวณความต้องการใช้น้ำ ระบบสูบน้ำ ระบบผลิตน้ำ ระบบฆ่าเชื้อโรคและระบบท่อจ่ายน้ำ พร้อม หนังสือรับรอง และสำเนาใบประกอบวิชาชีพของวิศวกรผู้ทำรายการคำนวณ จำนวน 3 ชุด 13. ผลวิเคราะห์คุณภาพน้ำของแหล่งน้ำดิบที่ใช้ผลิตน้ำประปา ให้ดำเนินการตรวจวิเคราะห์ตามมาตรฐานน้้าที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมกำหนด (ปัจจุบันใช้เกณฑ์มาตรฐานตามประกาศกรมอนามัย เรื่องเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพน้ำประปาดื่มได้)และจะต้องตรวจวิเคราะห์โดยหน่วยงานราชการ รัฐวิสาหกิจ หรือเอกชนที่ได้รับการรับรองจากหน่วยงานราชการ โดยผู้ขอรับสัมปทานเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายในการตรวจวิเคราะห์ทั้งหมด จำนวน 3 ชุด 14. เอกสารหลักฐานแสดงการยินยอมให้ใช้ที่ดิน เพื่อทำการก่อสร้างระบบประปา (กรณีที่ดินนั้นเป็นของบุคคลอื่น) จำนวน 3 ชุด 15. สำเนาโฉนดที่ดินหรือหนังสืออนุญาตจากผู้มีอำนาจในพื้นที่ที่ขอดำเนินการเกี่ยวกับสัมปทาน จำนวน 3 ชุด 16. รายงานการวิเคราะห์อัตราค่าน้ำประปา รายงานการวิเคราะห์ค่ารักษามาตรวัดน้ำ จำนวน 3 ชุด 17. หนังสือแจ้งแผนการขยายเขตจำหน่ายน้ำประปาของการประปานครหลวง การประปาส่วนภูมิภาคหรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จำนวน 3 ชุด 18. เอกสารและหลักฐานอื่น ๆ เช่น สำเนาใบอนุญาตใช้น้ำบาดาล (กรณีใช้น้ำบาดาล) จำนวน 3 ชุด สำเนาใบอนุญาตใช้น้ำผิวดิน (กรณีใช้น้ำผิวดินและแหล่งน้ำนั้นเป็นของบุคคลอื่น) จำนวน 3 ชุด แบบรูปตัดขวางของลำน้ำ หรืออ่างเก็บน้ำ แบบแปลนแสดง พื้นที่ของอ่างเก็บน้ำ หรือสระเก็บน้ำ ระดับน้ำปกติ ระดับน้ำสูงสุด ระดับน้้าต่ำสุด และรายการคำนวณปริมาณน้ำดิบของวิศวกร เพื่อยืนยันความเพียงพอของแหล่งน้ำดิบ (กรณีใช้น้ำผิวดินเป็นแหล่งน้ำดิบ) จำนวน 3 ชุด สำเนาใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงาน จำนวน 3 ชุด

การขอรับสัมปทาน 2 - 2,000 บาท, การขอขยายเขตสัมปทาน - 1,000 บาท, การขอต่ออายุสัมปทาน - 2,000 บาท, การขอโอนสัมปทาน - 1,000 บาท, การขอปรับอัตราค่าน้ำ/ค่ารักษามาตรวัดน้ำ – ไม่เสียค่าธรรมเนียม, การขอยกเลิกสัมปทาน – ไม่เสียค่าธรรมเนียม, การขอจำาหน่ายน้ำ - ไม่เสียค่าธรรมเนียม, ค่าใช้จ่ายของเจ้าพนักงานผู้ตรวจการ - เสียเป็นอัตราตายตัว ในอัตรา 5 บาท ต่อ 1 ลูกบาศก์เมตรของปริมาณน้ำที่ทำได้เต็มกำลังใน 1 ชั่วโมง แต่เงินจำนวนนี้จะต้องชำระไม่น้อยกว่า 50 บาท ต่อหนึ่งปี

สามารถเข้าดูได้ที่เว็บไซค์กรมทรัพยากรน้ำ หรือ เว็บไซค์ศูนย์ป้องกันวิกฤติน้ำ กรมทรัพยากรน้ำ เลือกแถบเมนูสถานการณ์น้ำ


คำถามที่ติดต่อสอบถามเข้ามา

สำนักวิจัยพัฒนาและอุทกวิทยา ขอชี้แจงว่า กรมทรัพยากรน้ำ ได้ติดตั้งสถานีเตือนภัยในจังหวัดระนอง จำนวน 16 สถานี ครอบคลุมหมู่บ้านเสี่ยงภัยจำนวน 39 หมู่บ้าน ซึ่งบ้านบางหิน อำเภอกะเปอร์ จังหวัดระนอง ไม่ได้อยู่ในเครือข่ายการแจ้งเตือนภัยของกรมทรัพยากรน้ำ แต่อยุ่ในแผนดำเนินการติดตั้งระบบเตือนภัยครอบคลุมในระยะต่อไป สำหรับบ้านหินขาว ตำบลกระเปอร์ อำเภอกระเปอร์ จังหวัดระนอง เมื่อวันที่ 7 สิงหาคม 2561 ได้แจ้งเตือนภัยระดับเตรียมพร้อม (สีเหลือง) ด้วยปริมาณน้ำฝนสะสม 12 ชั่วโมง 119.5 มิลลิเมตร และจากการตรวจสอบการเชื่อมโยงของสถานีเตือนภัย พบว่ามีจำนวน 3 สถานี ที่ไม่สามารถใช้งานได้ ในการนี้ ได้แจ้งหน่วยงานส่วนภูมิภาคที่รับผิดชอบดำเนินการแก้ไขแล้ว โดยอยู่ระหว่างดำเนินการ ทั้งนี้ ได้แจ้งให้ท่านทราบทางmail อีกทางหนึ่งด้วย

สอบถามเจ้าหน้าที่ได้ที่หมายลข 081 8712856 (คุณสุขสันต์) ค่ะ

สถานีเพื่อการเตือนภัยที่ติดตั้งในจังหวัดนครศรีธรรมราช ของกรมทรัพยากรน้ำ เป็นสถานีเตือนภัยน้ำหลาก-ดินถล่ม มีรายชื่อตามไฟล์ที่ส่งให้ทางอีเมล์ครับ

แบบแปลนพร้อมประมาณราคา และรายละเอียดประกอบแบบแปลน ทาง กรมทรัพยากรน้ำ จัดส่งให้ทางท้องถิ่น ใช้ในการจัดหางบประมาณ ในการจัดซื้อจัดจ้าง โดยใช้งบประมาณ ของทาง อปท. ต่อไป กรมทรัพยากรน้ำ ในฐานะเป็นหน่วยงานเจ้าของภารกิจถ่ายโอนภารกิจงานระบบประปาหมู่บ้านให้กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทั่วประเทศไปดำเนินการเองตั้งแต่ ปี พ.ศ.2546 และเป็นหน่วยงานสนับสนุนทางด้านเทคนิค วิชาการ เกี่ยวกับงานด้านระบบประปา จึงไม่สามารถสนับสนุนงบประมาณในการก่อสร้างให้ได้ กรณีมีปัญหาทางด้านเทคนิค วิชาการ เกี่ยวกับงานด้านระบบประปา ติดต่อ สำนักงานทรัพยากรน้ำ ภาค 5 จนครราชสีมา 044925-256 โทรสาร 044 920 254 หมายเหตุ กรุณาตอบรับเป็นหนังสือ ว่าได้รับเอกสารแล้ว

รายละเอียด หลักเกณฑ์ และ คุณสมบัติ ของผู้รับจ้าง สามารถดูรายละเอียดได้ทาง เว็บไซต์ของกรมบัญชีกลาง www.cgd.go.th

เรียนคุณวัชรพงษ์ พรมเมืองยอง ก่อนอื่นต้องขออภัยที่ได้ตอบข้อสอบถามของท่านล่าช้าครับ จากที่ท่านได้สอบถามโครงการฯ นั้น สำนักพัฒนาแหล่งน้ำได้ตรวจสอบแล้ว ไม่พบข้อมูลโครงการดังกล่าวในฐานข้อมูลการถ่ายโอนฯ ของสำนักพัฒนาแหล่งน้ำแต่อย่างใด ทั้งนี้ ท่านสามารถประสานงานโดยตรงกับเจ้าหน้าที่ผู้จัดทำข้อมูลการถ่ายโอนได้ ทางหมายเลขโทรศัพท์ 0-2271-6000 ต่อ 6634 (ผู้อำนวยการส่วนส่งเสริมปฏิบัติการ) หรือ 0-2271-6000 ต่อ 6638 (เจ้าหน้าที่ คุณมนัสนันท์,คุณศุภโชค) ขอบคุณครับ

1. ภาครัฐ โดยสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ เป็นหน่วยงานหลักดำเนินการโครงการประหยัดน้ำ ติดต่อ อาคารจุฑามาศ เลขที่ 89/168-170 ถนนวิภาวดีรังสิต แขวงตลาดบางเขน เขตหลักสี่ กรุงเทพฯ 10210 โทร : 0 2554 1800 Fax : 0 2521 9140 Email : onwr@onwr.go.th 2. กรมทรัพยากน้ำ ไม่ได้ดำเนินการโครงการประหยัดน้ำแล้ว แต่ช่วยสนับสนุน เอกสารคู่มือการจัดทำโครงการส่งเสริมและติดตามการประหยัดดน้ำ ของหน่วยงานภาครัฐ ได้แก่ โปสเตอร์ สติกเกอร์ และกระดุมประหยัดน้ำ เพื่อช่วยประหยัดน้ำ ขอรับได้ที่ส่วนวางแผนและเพิ่มประสิทธิภาพการใช้น้ำ สำนักบริหารจัดการน้ำ ชั้น7 อาคารกรมทรัพยากรน้ำ 02 271 6000

เรียน คุณสุทธารินี ฤทัยวัฒนา กฎหมายทีใช้ในการทำงาน ของกรมทรัพยากรน้ำ หลักๆ แล้วจะกฎหมายเกี่ยวกับการปฏิบัติราชการ ดังนี้ 1. พรบ.ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 2. พรบ.ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 3. พรบ.วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 4. พรบ.ความลับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2556 5. พรบ.จัดตั้งศาลปกครองและวิธีปฏิบัติราชการปกครอง พ.ศ. 2542 6. พรบ.อำนวยความสะดวกในการพิจารณาอนุญาตของทางราชการ พ.ศ.2558 7. พรบ.การจัดซื้อจัดจ้างและบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 นอกจากนี้ ยังมีกฎหมายเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับภารกิจของ กรมทรัพยากรน้ำ ดังนี้ 1. กฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการกรมทรัพยากรน้ำ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2545 2. กฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการกรมทรัพยากรน้ำ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2551 3. ประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับ ที่ 58 พ.ศ. 2515 4. พรบ.ทรัพยากรน้ำ พ.ศ. 2561 ณัฐพงษ์ ณ พัทลุง นิติกรชำนาญการพิเศษ

รบกวนทำเป็นหนังสือขอมา ตาม นี้ ครับ เรียนผู้อำนวยการสำนักบริหารจัดการน้ำ กรมทรัพยากรน้ำ

ตอนนี้กรมทรัพยากรน้ำไม่ได้รับผิดชอบในส่วนของลุ่มน้ำหลัก และลุ่มน้ำสาขาแล้วค่ะ สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติเป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบในเรื่องนี้ค่ะ

ในกรณีเร่งด่วน ให้ประสานท้องถิ่น เพื่อขอรับการสนับสนุนอุปกรณ์กักเก็บน้ำ หรือทำโครงการในภาพรวมของหมู่บ้านเพื่อขอรับการสนับสนุน จากกองทุนสิ่งแวดล้อม สำนักงานนโยบายและแผน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กรมทรัพยากรน้ำ สนับสนุน เอกสารวิชาการที่เกี่ยวข้อง ในด้านสภาวะวิกฤตน้ำ การประหยัดน้ำ ฯลฯ

ดินประเภท Qa เป็นดินตะกอนที่พัดพาโดยน้ำ เป็นดินปากแม่น้ำ มีสัดส่วนคละระหว่างดินกรวดและดินเหนียวปนกัน หากมีกรวดปนมากก็จะไม่สามารถเก็บกักน้ำได้ แต่ถ้าดินเหนียวปนมากก็จะทำให้การรั่วซึมน้อยลง ซึ่งโดยทั่วไปสระเก็บน้ำจะมีการรั่วซึมของน้ำในดิน การระเหย เป็นปกติอยู่แล้ว แต่หากว่าดินในพื้นที่ทำสระเก็บน้ำ มีการรั่วซึมอยู่ในเกณฑ์ที่ยอมรับได้ คือมีการรั่วซึมน้อยกว่าการเติมน้ำในสระภายในรอบปีน้ำฝน ก็สามารถทำสระเก็บน้ำได้

เรียน คุณสุจิรา สุภะเสถียร 1.ตามที่ท่านได้ขอความกรุณาให้ช่วยตรวจสอบเรื่องการผันน้ำเข้าอ่างเก็บน้ำ ม.2 ต.สะแก อ.สตึก จ.บุรีรัมย์ ทางสำนักงานทรัพยากรน้ำภาค 5 ได้ดำเนินการตรวจสอบข้อมูลแล้วพบว่า เป็นโครงการอนุรักษ์และฟื้นฟูแหล่งน้ำกุดอ้อ ม.2 บ้านโนนมะงา ต.สะแก อ.สตึก จ.บุรีรัมย์ และขอส่งแบบฟอร์มการขอรับการสนับสนุน การปรับปรุงซ่อมแซมโครงดังกล่าว จึงขอให้ท่านนำแบบฟอร์มที่แนบมาพร้อมนี้ ไปให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ประสานงานกับ สำนักงานทรัพยากรน้ำภาค 5 เพื่อแก้ปัญหาต่อไป ท่านสามารถติดต่อที่ ส่วนแผนงานและประเมินผล สำนักงานทรัพยากรน้ำภาค 5 ตำบลหนองบัวศาลา อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา เบอร์สำนักงาน: 044-920056 ต่อ 310 , 082-8665499 E-mail : plan.dwr5@gmail.com 2.สำนักงานทรัพยากรน้ำภาค 5ได้ประสานงานกับผู้ร้องเรียน แล้วตรวจสอบพื้นที่ พบว่า มีน้ำเข้าเต็มอ่างเก็บน้ำโครงการอนุรักษ์และฟื้นฟูแหล่งน้ำกุดอ้อ ม.2 บ้านโนนมะงา ต.สะแก อ.สตึก จ.บุรีรัมย์ เรียบร้อยแล้ว *************************************************************************************** ****************************************************************************************

สำนักวิจัย พัฒนาและอุทกวิทยา กรมทรัพยากรน้ำ ไม่ได้ติดตั้งสถานีสำรวจข้อมูลน้ำฝนในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ทั้งนี้ข้อมูลในพื้นที่ดังกล่าวสามารถหาข้อมูลได้จาก กรมอุตุนิยมวิทยา ครับ

เรียนคุณ วริษฐา จงวิสุทธิ์ จากข้อสอบถามผ่านกล่องข้อความบนเว็บไซต์กรมทรัพยากรน้ำ -สอบถามอีเมล์ที่ใช้ในงานสารบรรณของกรมทรัพยากรน้ำค่ะ ขอบคุณค่ะ ศูนย์สารสนเทศทรัพยากรน้ำ ขอเรียนให้ทราบว่า การเข้าใช้ระบบงานสารบรรณของกรมฯ ไม่มีการนำอิเมล์ มาประกอบการใช้งาน หากสงสัย สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ส่วนพัฒนาระบบข้อมูลสารสนเทศ ศูนย์สารสนเทศทรัพยากรน้ำ หมายเลข 02-271-6000 ต่อ 6308 เรียนมาเพื่อทราบ ณัฐธิดา อุบล ส่วนบริการข้อมูลสารสนเทศ

สำนักวิจัย พัฒนาและอุทกวิทยาขอเรียนว่าไม่ชัดเจนในรายละเอียดคำถามของสถานที่ (คลองบางคู) โปรดตรวจสอบสถานีที่สามารถให้บริการข้อมูลได้จากเว็บไซต์ http://ishydro.dwr.go.th/

สวัสดีค่ะ ชื่อญาณิศาค่ะ เป็นนักศึกษาปริญญาโท คณะนิติศาสตร์ สาขากฎหมายทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ค่ะ ในภาคเรียนที่สองที่กำลังจะเปิดภาคเรียน มีความจำเป็นต้องใช้เอกสารสองฉบับด้านล่างเพื่อประกอบการศึกษาค่ะ แต่จากการค้นคว้าในฐานข้อมูลห้องสมุดของมหาวิทยาลัยและเว็บไซต์อื่นๆ ไม่พบเอกสารดังกล่าวค่ะ ขออนุญาตสอบถามทางกรมทรัพยากรน้ำว่าสามารถส่งไฟล์เอกสารทั้งสองฉบับด้านล่างให้ทางอีเมล yanisa.som@hotmail.com ได้หรือไม่ค่ะ เอกสารที่กล่าวถึง คือ - รายงานฉบับสุดท้าย โครงการปรับปรุงกฎหมายเกี่ยวกับทรัพยากรน้ำและจัดทำร่างพระราชบัญญัติทรัพยากรน้ำ จัดทำโดยสถาบันวิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เสนอต่อ กรมทรัพยากรน้ำ 2547 - รายงานฉบับสุดท้าย โครงการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อร่างพระราชบัญญัติทรัพยากรน้ำ จัดทำโดยสถาบันวิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เสนอต่อกรมทรัพยากรน้ำ 2548 ค่ะ ขอบคุณค่ะ

เรียน คุณญาณิศา เนื่องจำนงค์ ทางกรมฯ ยินที่จะให้ข้อมูลที่ขอมาแต่ เนื่องจาก ข้อมูลดังกล่าว เป็นข้อมูลตั้งแต่ปี พ.ศ. 2547 - 2548 จึงต้องใช้เวลาหาไฟล์ข้อมูลสักระยะ หากหาไฟล์ข้อมูล ได้แล้วจะรีบส่งไปให้ทาง E-mail ครับ ต้องขออภัยในความล่าช้า ทั้งนี้ ทางกรมฯ มีข้อมูลในรูปแบบเอกสาร หากต้องการสามารถติดต่อขอรับ ได้ที่ กลุ่มนิติการ ชั้น 5 กรมทรัพยากรน้ำ โทร. 022716158 ติดต่อ คุณณัฐพงษ์ ณ พัทลุง หรือ คุณอนุสรณ์ พรมกระแส ในวัน และเวลาราชการ ณัฐพงษ์ ณ พัทลุง นิติกรชำนาญการพิเศษ

ติดต่อสอบถาม 022716000 ต่อ6805 สำนักงานเลขานุการกรม ส่วนบริหารทรัพยากรบุคคล

ติดต่อสอบถาม 022716000 ต่อ6617 สำนักงานเลขานุการกรม ส่วนบริหารทรัพยากรบุคคล

แม่น้ำ (อังกฤษ: river) เป็นทางน้ำธรรมชาติที่มีขนาดใหญ่ เป็นคำศัพท์ทั่วไปที่ในทางวิทยาศาสตร์หมายถึงกระแสน้ำตามธรรมชาติทั้งหลาย รวมทั้งกระแสน้ำขนาดเล็ก เช่น ลำธาร คลอง เป็นต้น บ่อน้ำ ช่องลึกลงไปในดินหรือในหินใช้เป็นที่ขังน้ำ สระหรือบ่อ เป็นแหล่งน้ำนิ่งที่ปกติเล็กกว่าทะเลสาบ โดยอาจเกิดตามธรรมชาติหรือมนุษย์สร้างขึ้นก็ได้ สระอาจเกิดตามธรรมชาติในที่ลุ่มน้ำท่วมถึงเป็นส่วนหนึ่งของระบบแม่น้ำ หรืออาจเป็นแอ่งแยกต่างหากก็ได้ สระอาจมีน้ำตื้นและมีพืชและสัตว์ที่เติบโตในน้ำและที่ลุ่มชื้นแฉะ ชนิดของสิ่งมีชีวิตในสระโดยทั่วไปตัดสินจากปัจจัยต่าง ๆ รวมกัน คลอง (อังกฤษ: canal) คือ ทางน้ำหรือลำน้ำที่เกิดขึ้นเองหรือขุดเชื่อมกับแม่น้ำหรือทะเล ในภาษาไทยมีคำที่ใช้เรียกทางน้ำหรือลำน้ำขนาดต่างๆ รวมกันว่า แม่น้ำคูคลอง โดยแม่น้ำเป็นลำน้ำที่มีขนาดใหญ่มาก ส่วนคลอง และคูมีขนาดเล็กรองลงมาตามลำดับ คลองมักจะเชื่อมต่อระหว่างแม่น้ำ สู่แม่น้ำ ห้วย แอ่งที่ขังน้ำซึ่งไหลมาจากภูเขา หนอง แอ่งที่ขังน้ำซึ่งไหลมาจากภูเขา บึง คือ บริเวณที่มีน้ำจำนวนมาก มีขนาดกว้างใหญ่ อาจกินพื้นที่หลายหมู่บ้าน หลายตำบล และมีความหลากหลาย ทางธรรมชาติ เช่น บึงบอระเพ็ด บึงฉวาก เป็นต้น ลำราง ทางน้ำเล็ก ๆ ที่ขุดสำหรับชักน้ำจากคลองเข้านาหรือระบายน้ำออกจากนา.

ตามที่ท่านได้ขอความช่วยเหลือเรื่องขาดแคลนน้ำจากระบบประปาภูเขาอำสีคิ้่ว จังหวัดนครราชสีมา ทางสำนักงานทรัพยากรน้ำภาค 5 ขอทราบรายละเอียดพิกัดที่ถูกต้องของระบบประปาภูเขา จึงขอให้ท่านส่งข้อมูลของ หมู่บ้าน... หมู่ที่... ตำบล... อำเภอ... จังหวัด...... และเบอร์โทรติดต่อ.......... มาที่ อีเมล์ หรือติดต่อมาที่ เบอร์โทร ด้านล่างนี้ หรือ 082-8665499 เพื่อจะได้แก้ไขปัญหาต่อไป *************************************************************************************** ส่วนแผนงานและประเมินผล สำนักงานทรัพยากรน้ำภาค 5 เลขที่ 47 หมู่ที่ 1 ถนนราชสีมา-โชคชัย ตำบลหนองบัวศาลา อำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา เบอร์สำนักงาน: 044-920056 ต่อ 310 E-mail : plan.dwr5@gmail.com ****************************************************************************************

เรียน ดร.ฮาซัน อีแต สำนักงานทรัพยากรน้ำภาค 8 รับทราบปัญหาของทางโรงเรียนแล้วขอเรียนว่า ภารกิจในการแก้ไขปัญหาดังกล่าวอยู่ในความรับผิดชอบของกรมทรัพยากรน้ำบาดาล จึงขอให้ท่านประสานกับ สำนักงานทรัพยากรน้ำบาดาล เขต 12 สงขลา โดยตรงตามรายละเอียดสถานที่และเบอร์โทรศัพท์ที่แนบมาพร้อมนี้ สำนักทรัพยากรน้ำบาดาล เขต 12 (สงขลา) 439/10 ม.2 ถ.สงขลา-เกาะยอ ต.พะวง อ.เมือง จ.สงขลา 90100 โทร : 0-7433-0225 โทรสาร : 0-7433-0225 อีเมล์ : www.bgrr12@dgr.mail.go.th

ปริมาณน้ำฝนในภาคใต้ย้อนหลัง 30 ปี สำนักวิจัย พัฒนาและอุทกวิทยามีข้อมูลเป็นรายสถานีซึ่งสามารถให้การบริการข้อมูลตามรายชื่อสถานีที่ปรากฏในเว็บไซต์ http://ishydro.dwr.go.th/

จากการตรวจสอบ ไม่พบโครงการแหล่งน้ำของกรมทรัพยากรน้ำที่มีชื่อดังกล่าว ทั้งนี้ กรมทรัพยากรน้ำมีภารกิจในการดำเนินโครงการอนุรักษ์ ฟื้นฟู พัฒนาแหล่งน้ำและบริหารจัดการน้ำ เพื่อตอบสนองความต้องการใช้น้ำในพื้นที่เกษตรน้ำฝน เป็นแหล่งน้ำต้นทุนสำหรับการอุปโภคบริโภค การผลิต การเกษตร ป้องกันและบรรเทาปัญหาภัยแล้งอุทกภัย บรรเทาความเดือดร้อนด้านน้ำให้กับประชาชน และรักษาสมดุลระบบนิเวศและพื้นที่ชุ่มน้ำ รวมถึงเพื่อสนับสนุนโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ โดยสามารถตรวจสอบโครงการอนุรักษ์ ฟื้นฟู พัฒนาแหล่งน้ำและบริหารจัดการน้ำของกรมทรัพยากรน้ำที่ได้รับงบประมาณในแต่ละปีได้ทางเว็บไซต์ http://division.dwr.go.th/bwrpp1/index.php/2019-10-29-11-09-07 หัวข้อ พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปี หรือสอบถามเพิ่มเติมที่ สำนักนโยบายและแผนทรัพยากรน้ำ ส่วนวิเคราะห์โครงการและงบประมาณ โทร. 02 271 6000 ต่อ 6326

shadow

การค้นหาขั้นสูง